บทที4 พลังงานหมุนเวียน
รหัสวิชา ง 22101 ชื่อวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นปีที่ 2
ครูผู้สอน ดรุณี กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
บทที่ 4 เรื่อง พลังงานหมุนเวียน
สาระที่ 3: การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1 : เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา จินตนาการ และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการเชิงกลยุทธ์ ตามกระบวนการเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
-
เข้าใจความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
-
บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
-
เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
-
เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
-
เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
-
เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
-
เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
-
มีเจตคติที่ดีต่อการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตเพื่อการดำรงชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
-
บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
-
อธิบายความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
-
อธิบายความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
-
อธิบายความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
-
อธิบายความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
-
อธิบายความหมาย ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
-
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานในชีวิตประจำวันได้
-
สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนได้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
พลังงานชีวภาพ
ทรัพยากรชีวมวล คือมวลสารของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเป็นป่าไม้ ผลผลิตสินค้าเกษตร และ กากเหลือของทางการเกษตร เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย กะลาปาล์ม กะลามะพร้าว หรือของเสียอินทรีย์จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร ฯลฯ รวมทั้งมูลสัตว์เช่น ไก่ หมู วัว เป็นต้น อย่างไรก็ดี ทรัพยากรที่ควรจะนำมาพัฒนาเป็นพลังงานในอนาคตก็คือ กากของเหลือทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร รวมถึงมูลสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่หาง่ายและมีราคาถูก พลังงานชีวภาพ (อีกชื่อหนึ่งคือพลังงานชีวมวล) ใช้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้เป็นเชื้อเพลิง โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การสะสมก๊าซ การเปลี่ยนเป็นก๊าซ (การเปลี่ยนแปลงวัสดุแข็งเป็นก๊าซ) การเผาไหม้ และ การย่อยสลาย (สำหรับของเสียเปียก)
เมื่อชีวมวลถูกใช้เพื่อผลิตพลังงานในวิธีการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จะมีบทบาทในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นเราจึงสนับสนุนพลังงานชนิดนี้
ชีวมวลสามารถใช้ประโยชน์ในด้านพลังงานได้หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่มีศักยภาพสูงได้แก่ การใช้กากของเหลือในโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงในระบบการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมกัน ซึ่งจากรายงานของบริษัทที่ปรึกษาที่เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ การใช้กากของเหลือมาผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีศักยภาพสูงถึง 3,000 เมกะวัตต์
สำหรับการหมักก๊าซชีวภาพ ถึงแม้จะยังมีศักยภาพน้อยกว่าการเผาโดยตรง แต่การหมักก๊าซชีวภาพก็มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น เพราะถือเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการกำจัดมูลสัตว์และน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อันเป็นปัญหาที่สำคัญในหลายพื้นที่ ทั้งยังลดความจำเป็นในการใช้พื้นที่จำนวนมากเพื่อการกำจัดของเสีย
พลังงานชีวภาพสามารถเป็นหนึ่งในวิธีการอันยั่งยืนในการแก้ปัญหาโลกร้อน โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขนส่งมวลชนบนถนน โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับการขนส่งที่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน
นอกจากนี้ การใช้พลังงานชีวมวลถือเป็นการลดปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่ออุณหภูมิของโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเมื่อมีการเพาะปลูกพืชหรือชีวมวลทดแทนในอัตราที่เท่ากัน พืชเหล่านั้นก็จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเพื่อการเจริญเติบโตของตนเอง ผ่านทางกระบวนการสังเคราะห์แสง ดังนั้น การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลถือว่าเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไซด์ของโลกเพิ่มขึ้น
ที่สำคัญก็คือ การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในยุคที่ 2 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งได้อย่างมากในวิธีการที่ยั่งยืน เราจึงสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาพลังงานชีวมวลในยุคที่ 2
อุปสรรคของการพัฒนาพลังงานชีวมวลในประเทศไทย คือ ปัจจุบันในประเทศไทย มีผู้ผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ราย ทั้งที่เป็นโรงงานน้ำตาล (ใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง) โรงสีข้าว (ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง) คิดเป็นกำลังการผลิตรวมถึง 440 เมกะวัตต์ ปัญหาที่ทำให้การพัฒนาพลังงานชีวมวลไม่เต็มศักยภาพที่มีอยู่จึงมิใช่ปัญหาด้านเทคโนโลยี แต่ปัญหาที่สำคัญคือ ราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยจากพลังงานชีวมวล (ประมาณ 1.26 บาทต่อหน่วย) นั้นยังต่ำกว่าราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายใหญ่จากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ประมาณ 1.6 บาทต่อหน่วย) อยู่มาก ดังนั้นจึงทำให้แรงจูงใจในการลงทุนและการพัฒนาพลังงานจากชีวมวลลดลง
ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีวิสัยทัศน์และมุ่งมั่นพัฒนานโยบายพลังงานชีวมวลอย่างจริงจัง โดยในระยะสั้นควรมีการปรับราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตจากชีวมวลเพื่อจูงใจผู้ผลิต ส่วนในระยะยาวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล รวมถึงการใช้พลังงานจากชีวมวลในรูปแบบอื่นๆ อย่างจริงจัง
เมื่อพิจารณาเป้าหมายที่สำคัญไปกว่า นั่นคือ การกู้วิกฤตโลกร้อน เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินเทคโนโลยีการผลิตพลังงานชีวมวล ก็คือ พลังงานชีวมวลต้องทำให้ก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลง และต้องถูกใช้ในวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เพื่อรักษาระดับก๊าซเรือนกระจกเอาไว้ การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจะต้องไม่ก่อให้เกิดการทำลายป่าธรรมชาติหรือระบบนิเวศธรรมชาติ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคม ซึ่งรวมถึงความมั่นคงด้านอาหาร และพืชสำหรับพลังงานชีวมวลจะต้องปลูกในวิธีการที่ยั่งยืน
ขอขอบคุณ